หลังจากเลือก Sunscreen ที่เหมาะสมกับสภาพผิว กิจกรรม และปริมาณแสงแดดที่ต้องเผชิญได้แล้ว เราก็ต้องใช้ให้ถูกวิธีที่ที่จะได้รับประโยชน์จาก Sunscreen ให้มากที่สุด โดยเรื่องหลัก ๆ ที่ควรรู้ไว้ก็คือ
หากต้องการใช้ Makeup อย่าง Foundation (รองพื้น) ก็ควรรอสัก 20 นาที (หรือน้อยกว่านี้ก็ได้ถ้ามีเวลาไม่พอ) หลังจากทา Sunscreen ลงไปแล้วเพื่อให้เวลา Sunscreen เซ็ทตัวเต็มที่ ระหว่างที่รอก็แต่งตัวจัดข้าวจัดของไปก่อน พอครบเวลาจึงค่อยแต่งหน้าตามขั้นตอนที่เหลือต่อไป
ปริมาณที่แนะนำในการทา Sunscreen ให้ได้ค่า SPF ตรงตามที่ฉลากระบุไว้ต้องยึดตามหลัก Teaspoon Rule
– ผิวหน้า + ลำคอ = ใช้ Sunscreen ปริมาณ ½ ช้อนชา (3 ml.) หรือมากกว่า
– แขน 1 ข้าง = ใช้ Sunscreen ปริมาณ ½ ช้อนชา (3 ml.) หรือมากกว่า
– ลำตัวด้านหน้า / หลัง / ขาแต่ละข้าง = ใช้ Sunscreen ปริมาณ 1 ช้อนชา (6 ml.) หรือมากกว่า
รวม ๆ แล้วการทา Sunscreen ทั่วทั้งร่างกายต้องใช้ในปริมาณที่มากถึง 33 ml. หรือหนึ่งฝ่ามือพูน ๆ ทีเดียว นี่เป็นเหตุผลที่กระผมถึงพยายามบอกนักบอกหนาว่า Sunscreen ที่ดีไม่ควรจะมีราคาแพง เพราะคงยากที่เราใช้ Sunscreenราคาแพงในปริมาณที่มากขนาดนี้ได้ในแต่ละครั้ง (Sunscreen ขนาด 30. ml ขวดละพันกว่าบาท ทาหน้าได้แค่ 10 ครั้ง เฉลี่ยแล้วก็ครั้งละร้อยกว่าบาทเชียวนะ)
การซื้อ Sunscreen ราคาแพงมาใช้นอกจากจะเสี่ยงกับ “โรคทรัพย์จาง” แล้ว ยังเอาผิวไปเสี่ยงกับแสง UV อีกด้วยถ้าเราใช้ในปริมาณที่ไม่เหมาะสม
ใบหู (โดยเฉพาหลังใบหู) ไหล่ หลังคอ หลังมือ และแผ่นหลังก็เป็นจุดที่เรามักทา Sunscreen ไม่ทั่วถึง ก็ต้องระวังเอาไว้ให้ดีเช่นกัน
และถึง Sunscreen ตัวนั้นจะระบุเอาไว้ว่าเป็น Water Proof / Sweat Proof / Water Resistance / Very Water Resistance แต่ Sunscreen ก็ไม่ใช่คอนกรีตหรือกาวช้างที่ติดแน่นทนนานไม่มีวันหลุดล่อนแม้โดนน้ำหรือเหงื่อ
คำว่า Sweatproof หรือ Waterproof เป็นการใช้คำที่ไม่ถูกต้องเพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด เพราะไม่มี Sunscreen ตัวใดในโลกนี้ที่จะกันน้ำหรือกันเหงื่อได้ 100% การใช้คำว่า “Proof” จึงไม่ถูกต้อง ทาง FDA จึงกำหนดให้ใช้คำว่า “Resistance” ซึ่งเหมาะสมกว่า
Sunscreen ที่ระบุว่าเป็น Water Resistance / Very Water Resistance ถ้าจะให้แปลตรงตัวก็คือ “ทนน้ำ” “ทนน้ำมากเป็นพิเศษ” กฏของ US FDA กำหนดว่าผลิตภัณฑ์ที่ระบุว่าเป็น Water Resistance (หรือ Sweat Resistance) ต้องสามารถคงประสิทธิภาพในการป้องกันรังสีได้เท่าเดิมหลังจากผ่านการโดนน้ำหรือเหงื่อเป็นเวลา 40 นาที และผลิตภัณฑ์ที่ระบุว่าเป็น Very Water Resistance (หรือ Very Sweat Resistance) ต้องสามารถคงประสิทธิภาพในการป้องกันรังสีได้เท่าเดิมหลังจากผ่านการโดนน้ำหรือเหงื่อเป็นเวลา 80 นาที
รู้อย่างนี้แล้วก็ควรทา Sunscreen ซ้ำทุกครั้งหลังจากขึ้นจากสระว่ายน้ำ / ทะเล (แต่ต้องซับน้ำให้แห้งก่อนนะขอรับ) และถ้าเหงื่อออกมาก ๆ ก็ควรทา Sunscreen ซ้ำเหมือนกัน (ควรล้างหน้าก่อน)
ในกรณีที่แต่งหน้าแต่ต้องทา Sunscreen เพิ่มก็ควรจะลบเครื่องสำอางและล้างหน้าก่อน หากไม่ต้องการล้างหน้าก็หาแป้งอัดแข็งหรือแป้งผสมรองพื้นที่มีค่า SPF มาเติมก็ได้ ถึงแป้งผสมสารกันแดดจะให้การปกป้องจากรังสี UV ที่ไม่ค่อยดีนัก (เพราะคงไม่มีใครโปะแป้งหนาเตอะเป็นงิ้วแน่นอน) แต่ก็ยังดีกว่าไม่ได้เติมอะไรเลย
คำโฆษณาลวงโลกเกี่ยวกับ Sunscreen ที่พบบ่อย
แต่มีข้อยกเว้นเล็กน้อยในกรณีที่คุณอยู่ในห้องหรือสำนักงานตลอดทั้งวัน เหงื่อไม่ออก ก็อาจจะไม่จำเป็นต้องทา Sunscreenซ้ำก็ได้
นอกจาก PABA แล้วก็ยังมีสารกันแดดที่ก่อการระคายเคืองได้บางตัวเช่น Octinoxate และ Oxybenzone แล้วก็ยังมีส่วนผสมอื่นๆ อย่างน้ำหอม สี และสารเติมแต่งอื่น ๆ ที่สามารถก่อการระคายเคืองได้ คำว่า PABA-Free ไม่สามารถทำให้เรามั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑืตัวนั้นจะไม่ทำให้เราแพ้หรือระคายเคือง แต่ควรอ่าน Ingredients List เพื่อตรวจหาสารที่ไม่เหมาะกับผิว
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Sunscreen
ถ้าให้ตอบง่าย ๆ แบบกำปั้นทุบดินก็คงต้องบอกว่า “ถ้าท่านยังไม่รู้ว่าตัวเองล้างหน้าสะอาดรึไม่สะอาด… แล้วกระผมจะไปตรัสรู้แทนได้ยังไง”
อยากรู้ว่า Sunscreen ตัวไหนล้างออกยากหรือง่าย ใช้ Cleanser ตัวไหนล้างออกได้ดี ก็ต้องลองด้วยตัวเองขอรับ กระผมไม่สามารถตอบเรื่องนี้ได้ ที่ไม่อยากจะฟันธงเพราะกระผมเจอหลายกรณีมากเลยที่แนะนำไปว่า “Cleanser ตัวนี้ล้างกันแดดตัวนี้ออกนะ” (เพราะกระผมใช้อยู่) แต่ก็มักมีคำตอบกลับมาว่า “ไม่เห็นจะล้างออกเลย สิวอุดตันขึ้นเพียบ” พอกระผมถามวิธีล้างหน้า ปริมาณ Cleanser ที่ใช้แล้วก็ต้องกุมขมับ คุณเธอเล่นใช้ Cleanser ขนาดเท่าเม็ดเม็ดถั่ว แล้วเอาไปตีฟองด้วย Net แล้วใช้ฟองล้างหน้า…
“แล้วมันจะไปล้างออกมั๊ยเนี่ยยยยยยยยยยยยยยยยย!!!!!” (ปูเป้คลุ้มคลั่ง)
กระผมใช้ Cleanser ตัวเดียวกันนั้นด้วยขนาดเท่าเหรียญ 10 บาท แล้วก็นวดเบา ๆ นานเกือบนาที เช็ดออกด้วยผ้าขนหนูเปียกหมาด ๆ แล้วก็ล้างน้ำซ้ำ ถ้ายังรู้สึกว่าไม่สะอาดก็ล้างซ้ำอีกรอบ… จะเห็นได้ว่าขนาดผลิตภัณฑ์ที่ใช้เหมือนกันทุกอย่างแต่ปริมาณ Cleanser ที่ใช้ไม่เท่ากัน กับวิธีการล้างหน้าไม่เหมือนกัน ก็ให้ผลที่ต่างกัน
ขออธิบายเพิ่มเติมว่า Sunscreen ไม่ได้ล้างออกยากทุกตัว โดยเฉพาะ Sunscreen ที่เป็น Chemical ล้วนหรือใช้เป็น Chemical ซะส่วนใหญ่ จะสามารถล้างออกได้ง่ายแม้ว่าจะระบุไว้ว่าเป็น Water Proof / Sweat Proof / Water Resistance หรือ Very Water Resistance ก็ตาม การใช้ Detergent Base Cleanser อย่างพวก Gel Cleanser หรือ Foam Cleanser ก็สามารถทำความสะอาดให้หมดจดได้ไม่ยาก หรือหากรู้สึกว่ายังไม่สะอาดดีก็ให้ล้างซ้ำอีกครั้งก็ได้
Sunscreen ที่มักจะล้างออกยากก็คือ Sunscreen ที่ใช้สารกันแดดแบบ Physical ในปริมาณสูง เดิม Titanium Dioxide / Zinc Oxide ก็ติดผิวดีอยู่แล้ว ยังมีส่วนผสมของซิลิโคนและเบสเข้าไปเพิ่มให้มันติดแน่นเข้าไปอีก ถ้าจะใช้ Detergent Base Cleanser ก็คงต้องล้างหลายรอบหน่อย หรือใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นช่วยเช็ดออกด้วยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำความสะอาด ถ้าล้างแล้วหน้ายังมัน ๆ เลื่อมๆ หรือมีหยดน้ำเกาะเป็นเม็ด ๆ ก็แปลว่ายังล้างออกไม่หมดก็ให้ล้างซ้ำต่อไปจนหว่าจะสะอาด ถ้าทำแบบนี้แล้วสิวอุดตันไม่ขึ้นก็คือล้างออกหมดแล้ว
ถ้าสามารถใช้ Emollient Base Cleanser อย่าง Cleansing Oil / Milk / Cream ได้โดยไม่มีปัญหาเรื่องสิวตามมาทีหลังก็สามารถใช้ได้ แต่เป็นไปได้กระผมอยากให้ลองใช้ Detergent Base Cleanser อย่างเดียวดูก่อน ถ้าเกิดล้างออกไม่หมดหรือต้องล้างหลายรอบจะหันมาพิจารณาใช้ อย่าง Cleansing Oil / Milk / Cream ก่อนแล้วค่อยตามด้วย Detergent Base Cleanser ทีหลังก็ได้
ถ้าคุณแต่งหน้าด้วยแล้วล่ะก็ ให้ใช้ Makeup Remover อย่างพวก Cleansing Oil / Milk / Cream ล้าง Makeup + Sunscreen ไปพร้อมกันได้เลยทีเดียว เพราะถ้าล้าง Makeup อย่างรองพื้นหรือลิปสติคได้ Sunscreen มีหรือที่จะเหลือรอด
เพิ่มเติมอีกนิดว่าต่อให้เป็น Cleanser ที่ทำความสะอาดได้ดีที่สุดในโลก ก็คงทำความสะอาดได้ไม่ดีถ้าคุณใช้มันไม่เป็น…
การใช้ Cleanser ต้องใช้ในปริมาณที่พอเหมาะและถ้าหากปริมาณที่ใช้นั้นน้อยไป รู้สึกว่าทำความสะอาดได้ไม่มากพอก็ให้ลองเพิ่มปริมาณ Cleanser ที่ใช้ในแต่ละครั้งดูก่อน (อย่าไปงกมันมาก ก็บอกเอาไว้แล้วว่า Cleanser ที่ดีไม่จำเป็นต้องแพง) นอกจากนี้การใช้เวลานวดคลึงเบา ๆ เพื่อช่วยละลาย Sunscreen ให้หลุดมากับ Cleanser ก็จำเป็น พูดง่าย ๆ เลยก็คือ “ถ้าเราล้างหน้าแบบลวก ๆ มันก็ไม่สะอาด”
บางคนอาจจะบ่นว่า Cleanser ที่ใช้นั้นทำความสะอาดได้ไม่ดีพอ ล้างกันแดดออกไม่หมด แต่เชื่อหรือไม่ว่าแม้แต่ Cetaphil ที่เราประณามกันว่าทำความสะอาดได้ไม่ดีนั้นก็ยังสามารถล้าง Sunscreen ที่ติดทนออกได้ เพียงแต่ต้องใช้เวลานวดคลึงนานหน่อย ต้องใช้ผ้าขนหนูหรือสำลีชุบน้ำหมาด ๆ ช่วยเช็ดออกด้วย และต้องทำซ้ำซ้ำหลาย ๆ รอบ (อาจจะเสียเวลาหน่อยแต่มันก็ยังล้างออกใช่มั๊ยล่ะ)
เมื่อได้อ่าน รับทราบ และเข้าใจแล้ว ก็ไม่ต้องไปถามคนอื่นแล้วขอรับ ว่า “ใช้อะไรล้างกันแดดดี ใช้ไอ้นั่นไอ้นี่จะล้างกันแดดตัวนี้ออกมั๊ย?” เพราะมันไม่ได้ขึ้นอยู่กับ Sunscreen กับ Cleanser อย่างเดียว วิธีการใช้ ปริมาณในการใช้ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญ (ซึ่งเป็นสิ่งที่คนอื่นไม่สามารถรู้หรือให้คำตอบแทนคุณได้)
ผลิตภัณฑ์ที่ระบุว่าเป็น “Sunblock” จึงไม่ได้มีประสิทธิภาพมากกว่า “Sunscreen” อย่างที่มักเข้าใจผิดกัน
ค่า SPF 2 ช่วยกรองรังสี UVB ไปได้ 50% ค่า SPF 10 สามารถกรองรังสี UVB ไปได้ 85% ค่า SPF 15 สามารถกรองรังสี UVB ได้ 95 % ค่า SPF 30 กรองรังสี UVB ได้ 97% ค่า SPF 50 กรองรังสี UVB ได้ประมาณ 98 %
จะสังเกตได้ว่าปริมาณรังสี UVB ที่สามารถกรองได้จะไม่ค่อยเพิ่มขึ้นหลังจากค่า SPF เกิน 30 ขึ้นไป หลังจาก SPF 50 ขึ้นไป ตัวเลขของรังสี UVB ที่สามารถกรองได้จะเพิ่มขึ้นเป็นจุดทศนิยมที่น้อยลงไปเรื่อย ๆ
ในโลกนี้ไม่มีครีมกันแดดที่สามารถปกป้องผิวจากรังสี UV ได้อย่างสมบูรณ์แบบ และการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีค่า SPF สูงมากนั่นก็หมายความว่าผลิตภัณฑ์จะต้องผสมสารกรองรังสี UV จำนวนมากตามไปด้วย ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดการระคายเคือง (ในกรณีที่ใช้สารกันแดดแบบ Chemical) หรืออุดตันเพิ่มขึ้น (ในกรณีที่ใช้สารกันแดดแบบ Physical)
ไม่ใช่ขอรับ
ในบางประเทศอย่างได้มีกฎหมายกำหนดไม่ให้ระบุค่า SPF เกินมาตรฐาน อย่างในออสเตรเลียกำหนดไว้ว่าค่า SPF สูงสุดที่แสดงบนฉลากได้คือ SPF30 และในประเทศแถบยุโรปกำหนดให้ค่า SPF สูงสุดคือ SPF50 ผลิตภัณฑ์ใด ๆ ที่มีค่า SPF เกินกว่านั้นจำต้องใส่เครื่องหมายบวก (+) ต่อท้ายเอาไว้
ตัวอย่างเช่น ครีมกันแดด Bioderma : Photoderm Max SPF 100 ที่ขายในประเทศไทย เมื่อไปขายที่ยุโรปก็ต้องเปลี่ยนเป็น Bioderma : Photoderm Max SPF 50+
ถ้าอยากให้ผิวเป็นสีแทนสวยอย่างปลอดภัยก็ใช้ผลิตภัณฑ์เปลี่ยนสีผิวชนิดทา (Self-Tanning/Fake Tan) ส่วนผสมสำคัญที่อยู่ในผลิตภัณฑืเปลี่ยนสีผิวก็คือ Dihydroxyacetone ที่จะไปกระตุ้นการสร้างเม็ดสีผิวขึ้นมาโดยที่เราไม่จำเป็นต้องไปอาบแดด
เมื่อเลือกได้แล้วก็ให้ลองทาที่ข้อมือของเด็กทิ้งไว้หนึ่งวัน ถ้ามีอาการระคายเคืองหรือผื่นขึ้นก็ให้หยุดใช้ผลิตภัณฑ์ตัวนั้น
ลองปรึกษาแพทย์เด็กเพื่อขอคำปรึกษาเพิ่มเติมได้ขอรับ