ทุกวันที่ 1 ธันวาคมของทุกปีจะเป็น วันเอดส์โลก หรือ World AIDS Day เพื่อตั้งขึ้นเพื่อรณรงค์และยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ และเชื้อ  HIV

ในขณะที่ปัจจุบันความเข้าใจและยาที่ใช้เพื่อควบคุมเชื้อ HIV มีประสิทธิภาพมากกว่าเมื่อหลายสิบปีก่อนมาก จนผู้ที่ติดเชื้อ HIV และได้รับยาต้านไวรัสอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง สามารถมีชีวิตที่ยาวนาน มีสุขภาพแข็งแรง ไม่แพร่เชื้อต่อ และจะไม่เข้าสู่ภาวะ AIDS แล้ว  แต่คนส่วนหนึ่งในสังคม อย่างในสังคมไทย กลับยังไม่สามารถแยกแยะ HIV กับ AIDS ได้ แม้ว่าจะมีความพยายามในการสร้างความเข้าใจสู่สังคม แต่สื่อกระสหลัก รวมไปถึงละครที่ผลิตซ้ำความเข้าใจผิดยังคงมีผลต่อภาพจำของคนในสังคมว่าคนติด HIV จะต้องเป็น AIDS นอนตัวดำผอมเกร็งตายบนเตียง

HIV ไม่เท่ากับ AIDS

HIV หรือ Human Immunodeficiency Virus คือ ไวรัส ที่โจมตีให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

ส่วน AIDS หรือ Acquired Immune Deficiency Syndrome เป็นภาวะ โรค ที่เกิดขึ้นหลังจากระบบภูมิคุ้มกันต่ำเพราะถูกเชื้อ HIV โจมตีจนลงมากจนเกิดโรคแทรกซ้อน

ผู้ที่ติดเชื้อ  HIV และไม่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส  ภูมิตุ้มกันจะถูกทำลายจนติดโรคต่าง ได้ง่ายจนเสียชีวิตเพราะโรคแทรกซ้อนเหล่านั้น

ถ้ามีเชื้อ HIV ในร่างกาย และรับยาต้าน ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เชื้อ HIV จะถูกคุมเอาไว้ ภูมิคุ้มกันก็จะแข็งแรง ก็จะไม่เป็นโรค AIDS

ดังนั้น AIDS รักษาได้ ส่วน HIV สามารถคุมได้ แต่ปัจจุบันยังไม่สามารถรักษา HIV ให้หายขาดหรือขจัดไวรัส HIV ให้หมดจากร่างกายได้ แต่การอัพเดทล่าสุดนักวิทยาศาสตร์เริ่มหาทางในการขจัดไวรัสและอยู่ในระหว่างการขยายผลศึกษากับมนุษย์แล้ว ดังนั้นผู้ที่มีเชื้อ HIV คุณมีความหวังแน่นอน

HIV ถูกคุมได้อย่างอยู่หมัดด้วยยาต้านไวรัส

ในอดีตนั้นยาต้านไวรัส HIV มีเพียงตัวเลือกเดียวคือยา AZT ซึ่งมีราคาสูงและมีประสิทธิภาพน้อยในการควบคุมเชื้อ HIV และยังมีผลข้างเคียงมาก

แต่ในปัจจุบันยาต้าน HIV มีตัวเลือกที่หลากหลาย มีประสิทธิภาพสูง กินเพียงวันละครั้ง ไม่ต้องกินยาเป็นกำมือวันละหลายรอบเหมือนแต่ก่อน แถมยังมีผลข้างเคียงน้อย 

ในปัจจุบันผู้ที่ติดเชื้อ  HIV จะกินยาต้านไวรัส วันละครั้ง เวลาเดิม ทุกวัน ซึ่งยาต้านจะเป็นตัวยาต้านไวรัส 3 ชนิด ซึ่งมันจะมีคอมบิเนชั่นของยาต้านที่ได้รับความนิยม  หากคนไข้มีผลข้างเคียงกับยาที่กิน ซึ่งมักจะเป็นอาการมึน คลื่นไส้ หรืออื่น ปัจจุบันก็มีคอมบิเนชั่นของยาที่กินแล้วไม่มีผลเรื่องมึนหรือคลื่นไส้ให้แพทย์สามารถปรับใช้ได้ 

หากผู้ที่ติดเชื้อ HIV รับยาต้านอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 6 เดือนขึ้น เชื้อ HIV จะถูกกดจนมีปริมาณที่น้อยมากจนชุดตรวจไม่สามารถตรวจพบ ซึ่งเรียกว่า  Undetectable ซึ่ง HIV จะไม่ส่งผลต่อสุขภาพ สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ไม่ป่วยอมโรค และที่สำคัญคือ “ไม่แพร่เชื้อ” ไปยังผู้อื่นอีกด้วย

(Source : HIV Treatment: The Basics)

Undetectable = Untransmittable 

ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับและมีหลักฐานที่แน่นหนาจนสรุปได้ว่า ผู้ที่มีเชื้อ HIV และรับยาต้านอย่างสม่ำเสมอ และอยู่ในสถานะ Undetectable นั้นจะไม่ส่งผ่านเชื้อไปยังผู้อื่นแม้จะมีเพศสัมพันธ์โดยที่ไม่ได้ป้องกัน

การศึกษาในกลุ่มคู่รักจำนวนมาก ทั้ง ชาย-หญิง ชาย-ชาย โดยที่ฝ่ายหนึ่งติด HIV และรับยาต้านจน Undetectable กับอีกฝ่ายที่ไม่มีเชื้อ HIV และมีเพศสัมพันธ์กันโดยที่ไม่ได้สวมถุงยางอนามัย รวมกันนับพันคู่ และจำนวนการมีเพศสัมพันธ์หลายหมื่นครั้ง ไม่พบการส่งผ่านเชื้อให้กับคู่นอนแม้แต่คนเดียว  จึงมีการประกาศอย่างเป้นทางการว่า  U=U นั่นก็คือ Undetectable = Untransmittable หรือ  ไม่เจอ = ไม่แพร่ นั่นเอง

การศึกษาและความเข้าใจใหม่ในครั้งนี้ทำให้เงื่อนไขที่กีดกันผู้ติดเชื้อ HIV ในการทำงาน สมัครงาน หรือขอรับสัญชาติ เริ่มถูกถอดออกไป เพราะเป็นการยืนยันว่าผู้ป่วย HIV สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติ ผู้ป่วย HIV ที่รับยาต้าน จะไม่ส่งผ่านเชื้อ HIV ให้ใคร แม้จะมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้สวมถุงยาง นับประสาอะไรกับการใช้ชีวิตร่วมกัน ทำงานร่วมกัน โอกาสที่จะแพร่เชื้อคือ “ไม่มี” เลย  การใช้เงื่อนไขการตรวจ HIV ในการกีดกันหรือห้าม จึงเป็นการเลือปฏิบัติและสร้างตราบาปให้กับผู้ติดเชื้อ HIV ให้ไม่มีที่ยืนในสังคม

อ่านเพิ่มเติม
“ไม่เจอเท่ากับไม่แพร่” โดย ผอ.ศูนย์วิจัยโรคเอดส์
Undetectable = untransmittable / UNAIDS Explainer

HIV ไม่ใช่ใบมรณะบัตร

ความเข้าใจของคนในสังคมส่วนหนึ่ง ซึ่งยิ่งสร้างตราบาปให้กับผู้ที่ติด HIV รวมถึงตัวผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงแต่ไม่กล้าที่จะไปตรวจ คือหากติด HIV คือหมดอนาคต คือต้องนอนตัวดำแห้งเหี่ยวบนเตียงไม่ก็มีตุ่มพองเละเต็มตัวแบบในละครหลังข่าว ซึ่งมันล้าหลังไปราว 30 ปีได้

อย่างที่กล่าวมาก่อนข้างต้น HIV สามารถควบคุมได้ ยาต้านไวรัส HIV ปัจจุบันมีประสิทธิภาพมาก คุมเชื้ออย่างอยู่หมัด ภูมิคุ้มกันจะไม่อ่อนแอ และในภาวะที่ Undetectable หรือตรวจไม่พบในเลือด ก็จะไม่แพร่เชื้ออย่างแน่นอน ที่สำคัญประชาชนชาวไทยรับยาต้าน HIV ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

ดังนั้นหากคุณมีพฤติกรรมเสี่ยง หรือไม่เสี่ยงแต่ก็ไม่แน่ใจว่าคู่ขอคุณจะไปเสี่ยงกับใครมาบ้าง คุณควรไปตรวจเลือดซึ่งถ้ามีบัตรประชาชนก็ตรวจฟรี  ถ้าตรวจพบว่าติด HIV ก็รับยาต้านฟรี คุณก็จะได้รักษาปกป้องสขภาพตัวเอง และไม่ส่งผ่านเชื้อให้คนอื่นเพื่อลดจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่

แต่สิ่งสำคัญที่ต้องเข้าใจคือ แม้ว่าการรับยาต้านจนกดเชื้อ HIV ถึงระดับที่เรียกว่า Undetectable หรือตรวจไม่พบในเลือดแล้ว  ก็ไม่ได้แปลว่าเชื้อ HIV จะหมดจากร่างกาย เพราะว่าเชื้อ  HIV จะหลบอยู่ในเซลล์ CD4 หากหยุดยาต้านไวรัสเมื่อไหร่ ไวรัส HIV จะออกมาและเพิ่จำนวนขึ้นและอาจเกิดการกลายพันธ์เป็นเชื้อที่ดื้อยาต้านไวรัสอีกด้วย 

ผู้ที่ติดเชื้อ HIV และรับยาต้าน แม้จะอยู่ในระดับ Undetectable ต้องห้ามหยุดยาต้าน และก็ไม่ควรไปทำพฤติกรรมเสี่ยงจนอาจไปรับเชื้อ HIV ที่ดื้อยาซึ่งอาจทำให้ยาต้านที่กินอยู่ไม่ได้ผลจนทำให้เชื้อเพิ่มจำนวนขึ้น และต้องไปตรวจเลือดตามที่หมอสั่งเพื่อดูระดับไวรัสในร่างกาย รวมถึงค่าการทำงานของไต และอื่น ๆ ตามแพทย์สั่งอีกด้วย.

ปัจจุบันการติด HIV ไม่ใช่การจบชีวิตหรือหมดอนาคตเหมือนสมัยสามสิบกว่าปีก่อน  แพทย์มักบอกว่าปัจจุบันการอยู่กับ HIV ก็เหมือนกับการใช้ชีวิตอยู่กับเบาหวาน คุณกินยาทุกวัน วันละครั้ง ดูแลสุขภาพ คุณไม่เสี่ยงเพิ่ม คุณก็จะมีชีวิตแข็งแรง และไม่ตายเพราะ HIV จำนวนการตายที่เกี่ยวกับ HIV น้อยลงอย่างมีนัยยะสำคัญในช่วงสิบกว่าปีมานี้ ซึ่งการตายส่วนใหญ่มาจากประเทศยากจนและเข้าไม่ถึงยาต้านไวรัสเป็นส่วนใหญ่

(Source : Number of deaths due to HIV, World AIDS Day: 30 years on, HIV no longer a death sentence but stigma remains)

PrEP ยาต้านสำหรับผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อ HIV

สำหรับผู้ที่ยังไม่ติด HIV แต่มีคู่รักเป็นผู้ติดเชื้อ HIV หรือต้องการลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ HIV เสริมเข้าไปจากวิธีป้องกันอื่นๆ เช่นการใช้ถุงยางอนามัย ก็มีทางเลือกของ PrEP หรือ Preexposure Prophylaxis ซึ่งเป็นการกินยาต้านไวรัส HIV 2 ชนิดในหนึ่งเม็ด เพื่อให้ร่างกายและเนื้อเยื่อมีการสะสมยาต้านไวรัสย่างน้อย 2 สัปดาห์ และกินอย่างต่อเนื่องทุกวัน และให้ผลในการลดการติดเชื้อ HIV ได้ 90%

หากคุณไม่ติด HIV และกิน  PrEP เป็นประจำทุกวัน ไม่เคยขาด และคู่ของคุณติด HIV แต่รับยาต้านจน Undetectable และกินยาประจำไม่เคยขาด รวมถึงไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงหรือเปลี่ยนคู่นอน คุณจะเยสดแตกในยังไงก็จะไม่ติดเชื้อ HIV อย่างแน่นอน และสามารถใช้ชีวิตร่วมกันตามปกติได้ 

PrEP เป็นตัวเลือกที่ช่วยเสริมการป้องกันตัวเองจากเชื้อ HIV  แต่ก็ไม่ใช่เกราะป้องกันที่สมบูรณ์แบบ ผู้ที่รับ PrEP และไม่ได้มีคู่นอนเพียงคนเดียว ยังไงก็ควรใช้ถุงยางอนามัยและลดพฤติกรรมเสี่ยงอื่น อยู่ดี และเราต้องเข้าใจว่าแม้นอกจาก HIV แล้วก็ยังมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ที่ติดกันได้ง่ายยิ่งกว่า HIV อย่างเช่น HPV (หูด ที่บางตัวทำให้เกิดมะเร็งได้) และ Herpes หรือเริม ซึ่งทั้งสองตัวนี้แค่แตะโดนก็มีโอกาสติดแล้ว นี่ยังไม่นับซิฟิลิสต์และอื่น อีกมากมาย  แม้ว่าจะรักษาให้หายได้ แต่การป้องกันไว้ก่อนก็จะดีที่สุด

ผู้ที่รับยา PrEP ก็ต้องกินอย่างต่อเนื่อง เป็นประจำทุกวัน เวลาเดิม เพื่อให้ตัวยาสะสมอยู่ในระบบและเนื้อเยื่อในระดับที่มากพอจนมีประสิทธิภาพในการเสริมการป้องกันได้  และก็ต้องไปตรวจเลือดเพื่อเช็คว่ามีการติด HIV ไหม ตรวจค่าไตและอื่น เพื่อดูสุขภาพอีกด้วย

ปัจจุบันมีศูนย์แจกจ่าย PrEP ฟรีกับผู้ที่เข้าไปรับบริการ กระจายอยู่ทั่วไป และเท่าที่ทราบคือในปี 2020 ประชาชนจะมีสิทธิรับ PrEP ฟรีจากหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าด้วย

สำหรับผู้ที่ไม่ติดเชื้อ HIV และไม่ได้มีการกิน PrEP และมีพฤติกรรมเสี่ยง  ก็สามารถไปรับยา PEP ซึ่งเป้นยาต้านไวรัส HIV 3 ชนิด ภายใน 72 ชั่วโมงหลังจากมีพฤติกรรมเสี่ยง โดยกินยา 1 เดือน และไปตรวจเลือดหลังจากกินยาครบ และไปตรวจซ้ำอีกครั้งเพื่อเช็คว่าไม่มีการติดเชื้อ HIV ซึ่งถ้าพบว่าไม่มีการติดเชื้อ HIV ก็มักจะได้รับคำแนะนำให้กิน PrEP ไปเลยเพราะคุณมีพฤติกรรมเสี่ยง  แต่ถ้าติด HIV ก็จะได้รับยาต้านต่อไปเพื่อคุมเชื้อ HIV ให้ Undetectable และสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ

(Source : HIV Preexposure Prophylaxis: A Review.

สรุป

ในช่วงปีหลังๆ นี้ทางการแพทย์เริ่มเข้าใกล้การรักษา HIV ให้หายขาดได้มากขึ้นเรื่อยๆ มีการพบวิธีที่จะขจัดไวรัสที่ซ่อนตัวในเซลล์ และการศึกษาในขั้นตอนการนำมาใช้กับมนุษย์ก็กำลังอยู่ในขั้นเริ่มต้น ผู้ที่ติดเชื้อ HIV ก็ควรเข้าใจว่าคุณไม่ได้หมดอนาคต จบชีวิต เพียงเพราะตอนนี้คุณติด HIV  และสังคม คนที่ไม่ได้ติด HIV ก็ต้องเข้าใจว่าคุณสามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้ที่มี HIV ได้ ปัจจุบันถึงขั้นมีเพศสัมพันธ์กันแล้วไม่ติดเชื้อด้วยซ้ำ แค่กินยาต้าน และมีความเข้าใจ  ดังนั้นในชีวิตประจำวันทั่วไป การดื่มน้ำแก้วเดียวกัน การใช้ของใช้ทั่วไปร่วมกันการกอด การสัมผัส ก็ไม่ได้ส่งผ่านเชื้อ HIV แต่อย่างใด

คนในสังคม ทั้งผู้ที่ติดหรือไม่ติด HIV ต้องเข้าใจว่าเราสามารถอยู่กับเชื้อ HIV ได้ คุณสามารถมีความรัก สามารถที่จะมีความสัมพันธ์ มีเพศสัมพันธ์ โดยที่ไม่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อจากผู้ที่มีเชื้อ HIV เพียงแต่คุณทั้งคู่ต้องเปิดใจคุยกัน ผู้ที่ติด HIV ต้องรับยาต้านเพื่อดูแลตัวเองและเพื่อความรับผิดชอบต่อคู่ของคุณ และอีกฝ่ายก็รับยา PrEP เพื่อเสริมไปอีกชั้น

สิ่งสำคัญในการหยุดการระบาดของ HIV คือความเข้าใจ และความรับผิดชอบต่อตัวเอง ต่อคู่นอน และต่อสังคม  ในเมื่อการตรวจ และยาต้าน ประชาชนไทยสามารถเข้าถึงฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ไม่เหมือนในอเมริกาที่ต้องหมดเงินเป็นหมื่นดอลล่าต่อปี  ทำไมคุณไม่ใช้สิทธิตรงนั้นเพื่อป้องกันตัวเอง ดูแลตัวเอง และคนที่คุณรัก และคนรอบตัวคุณล่ะ?